สร้างรายได้ กับอาชีพ บล็อกเกอร์รีวิวสินค้า
การใช้บล็อกเกอร์ ให้มารีวิวผลิตภัณฑ์ต่างๆกลายเป็นแบบในการทำการตลาดผ่านดิจิตัลมีเดียที่ ได้รับความนิยมขึ้นมาในกลุ่มเจ้าของสินค้าได้อย่างไร ประเด็นนี้น่าสนใจ
"ต่อ บุญ พ่วงมหา" President,New Media, Nation Group, ผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจบันฑิตสาขาการตลาด Business and Marketing Digital Age มหาวิทยาลัยเนชั่น และอดีต CEO เว็ปไซต์ Sanook.com อธิบายอย่างยาวว่า
"ในยุคนี้ Digital Media ต่างๆเข้ามามีบทบาท และมีอิทธิพลในการทำตลาดสูง เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป พฤติกรรมการเสพสื่อจึงเปลี่ยนตามไปด้วย ในอดีตหากเราอยากจะหาข้อมูลข่าวสาร ก็ไปที่หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ แต่พอมีอินเตอร์เน็ตเข้ามา ผู้บริโภคก็เริ่มมีรูปแบบการเสพสื่อเปลี่ยนไป และทางเว็ปไซต์เองก็มีวิวัฒนาการอยู่ตลอด
อย่างในสมัยก่อนผู้ทำ เว็ปไซต์จะเป็นคนกำหนดข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ โดยมี Editor หรือบรรณาธิการ เป็นคนให้ข้อมูลแก่คนอ่าน ต่อมาคนอ่านเริ่มบอกว่า ฉันไม่ได้อยากอ่าน แต่ฉันอยากจะแสดงความคิดเห็น ก็เลยเกิดเป็นเว็บไซต์พันทิป หรือเว็บบอร์ดต่างๆ เพื่อให้คนอ่านได้เข้าโพสต์ข้อมูล แสดงความคิดเห็นได้
แต่ในการโพสต์ เรื่องราวเหล่านั้น บางครั้งก็ไม่ได้มีการจัดระเบียบที่เหมาะสม ต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นรูปแบบของ blogging หรือที่คนไทยเรียกกันว่าบล็อกขึ้นมา เพื่อให้มีวิธีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบ บล็อกกิ้งมันก็เป็นพับลิชชิ่งแบบหนึ่งที่เราสามารถเสนอข้อมูลอะไรก็ได้ตาม ลำดับเหตุการณ์ แล้วคนก็เข้ามาคอมเม้นท์ได้ เลยเกิดเป็นช่องทางในการทำตลาดขึ้น เพราะไม่ว่าใครก็สามารถสร้างคอนเทนท์ขึ้นมาเองได้พาวเวอร์ของสื่อเลยวกกลับ ไปที่ยูสเซอร์มากกว่าคนที่ให้บริการ
บล็อกกิ้งมันก็คล้ายกับ การทำเว็บไซต์ขึ้นมาเว็บหนึ่ง สามารถรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่จัดรูปแบบต่อเนื่องได้ คนที่เป็น SMEs เขามีช่องทางในการเขียนคอนเทนท์ขึ้นมาเอง กลายเป็นว่าตอนนี้ใครที่เขียนคอนเทนท์ได้ดี และนำเสนอได้ดี ก็จะมีพาวเวอร์เยอะ พฤติกรรมแบบนี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าการตลาดกำลังถูกเปลี่ยนรูป เพราะการเข้าถึงคอนเทนท์ไม่ได้ถูกกำหนดโดยใครบางคนแล้ว ใครๆก็เขียนคอนเทนท์ขึ้นมาได้
แล้วพอบล็อกกิ้งมันแพร่หลาย ธุรกิจ SMEs ก็เริ่มเห็นช่องทาง ในอดีตหากอยากจะทำโฆษณาสินค้า ก็ต้องซื้อโฆษณาในหนังสือต่างๆ ค่าใช้จ่ายสูง หากรายได้ไม่เยอะก็ไม่คุ้มค่าที่จะทำ แต่พอมีบล็อกกิ้งเข้ามา เขาสามารถเข้าไปเขียนคอนเทนท์ หากคอนเทนท์ที่เขียนมันดี คนที่สนใจก็จะเข้ามาติดตามข้อมูลข่าวสารโดยที่เขาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อันนี้คือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ เริ่มมีการนำเครื่องมือต่างๆเหล่านี้เข้ามาใช้
และจากยุคของบล็อกกิ้งก็เริ่มวิ่งไปที่โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook,Twitter ซึ่งรูปแบบมันก็คล้ายกัน เทคโนโลยีมันเอื้อให้คนสามารถนำข้อมูลข่าวสารเข้าไปได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น สมัยนี้เห็นอะไรสวยก็ถ่ายภาพแล้วแชร์ผ่านมือถือได้เลย เดี๋ยวก็มีคนมาคอมเม้นท์ เสร็จแล้วก็เอาไปแชร์ต่อให้เพื่อนได้ดู ก็ยิ่งทำให้เครื่องมือมันทรงพลังขึ้น
ผมว่ามันเป็น Media of choice ผู้ที่จะเสพสื่อ หรือผู้ที่อยากได้คอนเทนท์เขามีทางเลือกมากขึ้น พฤติกรรมมันเปลี่ยนไปแล้ว เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา ต่อไปก็ไม่ต้องรออ่านหนังสือพิมพ์ หรือรอดูทีวี และไม่จำเป็นต้องเข้าเว็บไซต์ Sanook หรือ Yahoo เพื่อจะหาข้อมูล ไปที่ Facebook, Twitter ก็ได้ข้อมูลเหมือนกันและที่สำคัญไม่จำเป็นต้องไปที่คอมพิวเตอร์ PC แค่มีสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตก็ได้"
เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เปลี่ยนไปจึงเป็นที่มาของหลักสูตร Digital Marketing ที่ถูกบรรจุในการเรียนการสอน เพื่อรองรับทิศทางการทำตลาดที่ถูกเปลี่ยนรูปไปจากในอดีตในหลายๆมหาวิทยาลัย
เมื่อถามถึงบล็อกเกอร์ที่เจ้าของสินค้าต่างๆนิยมจ้างให้รีวิวสินค้าของตัวเอง ต่อบุญ อธิบายว่า
"คำถามที่ว่า ทำไมเจ้าของแบรด์ถึงเลือกใช้บริการบล็อกเกอร์ นั่นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคมันเปลี่ยน โดยเฉพาะ Netizen เด็กๆเดี๋ยวนี้เขาไม่ได้บริโภคหนังสือพิมพ์ หนังสือการ์ตูน หรือนั่งดูการ์ตูนทางทีวี ถามว่าเขาบริโภคสื่อน้อยลงหรือเปล่า เขาบริโภคสือมากขึ้น แต่แทนที่เขาจะดูทีวีก็ไปเข้า Youtube แทนที่จะอ่านหนังสือการ์ตูน ก็เข้าไปที่ Facebook แทนที่จะเปิด PC เขาก็ไปที่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต
คำถามต่อมา คือ ถ้าเราเป็นนักการตลาด หรือเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ เราจะทำอย่างไร
วิธี การแบบเดิมที่เคยเรียนมา ต้องใช้ PC ต้องวางแผนการตลาด ใช้งบประมาณ 10 - 20 ล้าน เพื่อทำโฆษณา ทำอาร์ตเวิร์คแพงๆในยุคนี้มันไม่ทางแจ้งเกิดได้ เพราะเด็กรุ่นใหม่เขาไม่ได้เสพสื่อแบบเก่า
ในเมื่อโลกมันเปลี่ยน สื่อมันเปลี่ยนมันถูกพัฒนา ถูกวิวัฒนาการ การตลาดก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนวิธีการนำเสนอให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่
ทำไม อาชีพบิวตี้บล็อกเกอร์ถึงแจ้งเกิด ทำไม SMEs ถึงนำเรื่องนี้มาใช้ ง่ายมากครับ ก็เพราะว่าเขาต้องขายของ เขาต้องทำการตลาด วัตถุประสงค์ทางการตลาดมันไม่ได้เปลี่ยน
1. ต้องการขายของ
2. ต้องการสร้างแบรนด์
3. ต้องการให้ลูกค้าเข้าไปซื้อของที่ศูนย์
4. ต้องการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความต้องการเหมือนเดิม วิธีต่างหากที่เปลี่ยน
และการนำบล็อกมาใช้ มันตอบโจทย์เขาได้
1. ประหยัดต้นทุนในการตลาด
2. ให้ข้อมูลที่เป็นเรียลไทม์ อย่างการนำเสนอวิธีการแต่งหน้าในบล็อก ถ้าคนดูชอบ เขาก็เข้ามาไลค์ หรือเข้ามาคอมเม้นท์เลยว่า ใช่ ไม่ใช่ ชอบไม่ชอบ บางคนก็เข้ามาให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่างๆ เช่น อยากให้โปรดักส์ A มีสีชมพู เท่ากับว่าเจ้าของแบรนด์ได้ Product Development เลย
เรื่องของบล็อกเกอร์ บางครั้งมันก็เป็นการสร้างกระแส ต้องยอมรับว่าเจ้าของแบรนด์เอง ก็ต้องมีการคอนโทรลเพื่อให้ทิศทางมันออกมาตรงกับสิ่งที่ต้องการ แต่ถ้าทำมากเกินไป จนรู้สึกว่ามันไม่จริง ก็จะกลายเป็นผลลบกับตัวแบรนด์มากกว่าผลดี
เพราะสุดท้ายแล้วแวลู หรือคุณค่ามันอยู่ที่ตัวสินค้า ต่อให้มีคนมารีวิว มาพูดให้ว่าสินค้าดีอย่างไร แต่พอลูกค้าซื้อไปใช้แล้วไม่ได้ผลอย่างที่บอก การใช้บล็อกเกอร์ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก เป้าหมายที่แท้จริงยังคงอยู่ที่คุณภาพของสินค้า ว่าเราสามารถให้คุณค่ากับผู้บริโภคตามที่บอกได้หรือเปล่าถ้าสินค้ามนัมีคุณ ภาพในตัว อย่างไรก็ขายได้
แต่เรากำลังพูดถึงการนำเสนอสินค้าผู้ บริโภคยุคนี้ไม่ชอบการฮาร์ดเซลล์เหมือนในอดีต เช่น ใช้แล้วสวยเหมือนดารา หรือใช้แล้วขาวภายใน 7 วัน สำหรับคนรุ่นผมมันใช้ได้ เพราะวัฒนธรรมสอนผมว่า ถ้าอยากได้สินค้าที่ดีต้องไปดูโฆษณา
และด้วย วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้บล็อกเกอร์มีอิทธิพลในการทำตลาดยุคใหม่ ค่อนข้างมาก เพราะคนเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้นำทางความคิด หรือ Influence ที่มีผู้ติดตาม ยิ่งบล็อกเกอร์มีผู้ติดตามมาก ความน่าเชื่อถือก็ยิ่งมีมากขึ้น
การใช้บล็อกเกอร์มาพูด ข้อดีก็คือมันเป็นบุคคลที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของแบรนด์ ในยุคของการทำโฆษณาที่เยอะ ผู้บริโภคจะรู้สึกว่ามันหลอก เพราะข้อมูลมันโอเวอร์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ไหนจะมาบอกว่าสินค้าตัวเองไม่ดี แล้วดีแบบดีเลิศ ในอดีตโฆษณามันไม่ได้เยอะ คนก็เชื่อได้ง่าย สมัยนี้สินค้าก็เยอะโฆษณาก็เยอะ คนก็เริ่มรู้สึกว่ามันจะเป็นไปได้เหรอ อะไรมันจะดีขนาดนั้น
ผู้บริโภคก็เลยเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่เวลาที่เขาจะ เชื่ออะไรบางอย่าง เขาไม่ได้เชื่อในสิ่งที่ผู้ขาย หรือเจ้าของสินค้าเป็นคนบอก แต่เขาจะเชื่อบุคคลที่ 3 ที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับตัวแบรนด์ ยิ่งถ้าคนที่ Influence มากๆแล้วเอามาบอกต่อโอกาสที่คนจะเชื่อก็ยิ่งสูง สินค้าบางตัวนี่ยอดขายกระฉูดเลย
เจ้าของสินค้าที่จะเลือกใช้บล็อกเกอร์ ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ ต้องไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าคุณจ้างใครมาพูด จ้างใครมารีวิว แต่โดยหลักการแล้ว คนที่เป็นบล็อกเกอร์เขาก็มีจิตวิญญาณของเขา จ้างให้พูดถึงในทางที่ดีอย่างเดียวเขาไม่ทำนะ ถ้าเป็น Influence ที่มีอิทธิพลเยอะๆเงินไม่สามารถซื้อเขาได้ทั้งหมด จ้างให้เขารีวิวสินค้าให้ได้ แต่เขาก็จะเขียนในสิ่งที่เป็นความจริง
ตรงนั้นเจ้าของสินค้าไปคอนโทรลทั้งหมดไม่ได้ ทำได้แค่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการที่เขาจะนำไปใช้ในการเขียน หรือการรีวิวได้ ถ้าไปควบคุมเขาให้เขียนตามที่ต้องการ มันเป็นไปไม่ได้และจะกลายเป็นผลลบทันที เพราะพวกนี้มีผู้ติดตามที่เยอะมาก บางคนเป็นแสนราย ถ้าเขาบอกสินค้าคุณแย่มาก แล้วคนเป็นแสนเชื่อนี่จบเลย
ปัจจุบัน นี้เวลามีการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เจ้าของสินค้าใช้พีอาร์ทั้งนั้น และพีอาร์ที่แรงที่สุด ก็คือ บล็อกเกอร์ โดยการเชิญมางานเปิดตัว หรือส่งสินค้าให้ไปลองใช้ แล้วช่วยเขียนรีวิวถึงสินค้าให้หน่อย ผลที่ออกมาดีกว่าใช้สปอตโฆษณา 300 ล้านอีก เพราะทันทีที่บล็อกเกอร์พูดถึงสินค้าเราหรือนำไปรีวิว ลูกค้าจะชอบหรือไม่ชอบเรารู้ฟีดแบ็กเลยทันที ที่ร้ายกาจที่สุดของการทำตลาด คือ การที่ลูกค้าไม่ชอบสินค้า แล้วไม่ยอมบอกเรา กลับไปบอกคนอื่น อย่างนี้เสียหายเยอะมาก
บล็อกเกอร์ก็เลยได้รับความยนิยม และไม่ใช่แค่ใน SMEs ในรายใหญ่ๆก็เริ่มให้ความสนใจ สินค้าบางตัวเวลาทำ Development จากที่เมื่อก่อนต้องทำรีเสิร์ซ ทำโฟกัสกรุ๊ปว่าลูกค้าต้องการอะไร เดี๋ยวนี้เขาไปคุย ไปหาข้อมูลกันในเว็บไซต์ มีถึงขนาดให้บล็อกเกอร์เป็นคนดีไซน์ผลิตภัณฑ์ขึ้นมา หรือจัดแข่งขันดีไซน์สินค้าระหว่างบล็อกเกอร์ขึ้นมา จากนั้นเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็เอาไอเดียนั้นมาพัฒนาสินค้าต่อไป แล้วของมันก็ขายได้จริง เพราะตรงกับความต้องการที่ลูกค้าอยากได้จริงๆ"
นอกจากบล็อกเกอร์แล้วก็ยังมีรูปแบบการทำตลาดแนวใหม่อย่างอื่น ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมในอนาคต เช่น Affiliate Marketing "เว็บไซต์ ที่ประสบความสำเร็จมากจากการทำตลาดแบบ Affiliate Marketing คือ Amazon.com ซึ่งคอนเซ็ปต์ของมันจริงๆ ก็คือ Amazon มีสินค้าอยู่ แต่อยากหลีกเลี่ยงการตลาดในสมัยเก่า อย่างการลงโฆษณาซึ่งมันแพง ทำไมต้องไปจ่ายค่าโฆษณาทั้งๆที่ยังไม่ได้เงินจากการขายสินค้า Amazon จึงนำสินค้าไปฝากวางขายอยู่ในเว็บไซต์อื่นๆ
ลูกค้าในเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านั้น ก็จะเห็นสินค้าของ Amazon เว็บไซต์เองก็จะแฮปปี้ เพราะลูกค้าก็ยังคงอยู่ในเว็บไซต์แล้วเมื่อเกิดการซื้อขายกันจริง เว็บไซต์นั้นก็ได้เปอร์เซ็นต์ไป อย่างนี้ก็ Win - Win ทั้ง 2 ฝ่าย บางเจ้าอาจจะบอกว่าแค่ลูกค้าคลิกเข้าไปดูสินค้า คุณก็ได้เงินแล้ว หรือบางเจ้าบอกต้องมีการซื้อสินค้าก่อนถึงจะได้เงิน อันนี้ก็แล้วแแต่กลยุทธ์ในการทำตลาดของแต่ละราย Amazon ใช้ระบบนี้มานาน มีระบบการจัดการที่ดีมาก เลยทำให้รูปแบบการใช้ Affiliate Marketing ของเขามีความแข็งแรง
แต่สำหรับในเมืองไทย ระบบการตลาดแบบนี้ยังใหม่มาก ที่ผ่านใาคิดว่ามีการใช้วิธีการนี้อยู่บ้าง บางครั้งก็ให้รีวิวสินค้า เมื่อมีคนซื้อสินค้าที่เรารีวิวไว้ ก็จะได้รับเปอร์เซ็นต์จากการขาย แต่โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยเชื่อวิธีการนี้ ถึงจะเป็นการรีวิว แต่ไม่ได้มาจากผู้ทรงอิทธิพล และพอมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจทำให้ความน่าเชื่อถือในการรีวิวลดลงก็ได้
ผมไม่ได้หมายความว่า ระบบนี้ไม่ดี เพราะมันก็ซัคเซสมาแล้วในระดับโลก เพียงแต่ว่า หากจะนำรูปแบบนี้มาใช้ในการทำตลาดในไทย ก็จะต้องมีความแข็งแรงของระบบธุรกิจมากพอสมควร และอาจจะต้องอาศัยเวลา เพราะยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่
นอกจากรูปแบบในการทำตลาดแนวใหม่ ที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวแล้ว สื่อต่างๆก็ต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน ผมคิดว่าในอนาคตสื่อจะไม่พูดว่า เราคือผู้ใช้บริการทีวี หรือผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต แต่จะเปลี่ยนคำพูดเป็น เราคือผู้ให้บริการคอนเทนท์และเซอร์วิส โดยที่ไม่ต้องไปคำนึงถึงแพล็ตฟอร์ม แต่ต้องผสมผสานทุกสื่อเข้าด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ Youtube, Facebook หรือบล็อกกิ้ง
คอน เทนท์ที่ต้องการนำเสนอยังเหมือนเดิม แต่ต้องเข้าถึงได้หมดทุกสื่อ เพราะนี่คือพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค Content anywhere คนสมัยนี้เป็นแบบนี้จริงๆ รอไม่ได้ อยากรู้อะไรต้องดูเลย และเมื่อฉันได้รู้ ฉันได้ดูแล้ว ฉันต้องแสดงความคิดเห็นได้ด้วย ถ้าใช่ฉันก็จะชม ถ้าไม่ใช่ ฉันก็จะว่า ถ้าใช่และดี ก็จะบอกต่อ หรือแชร์ต่อไปยังเพื่อน สื่อไหนที่ตอบสนองเขาได้ครบ เขาก็เลือกที่จะบริโภคสื่อนั้นๆ"
เมื่อพฤติกรรมเปลี่ยน ช่องทางในการสื่อสารเปลี่ยน รูปแบบในการนำเสนอสินค้าก็เปลี่ยน
Key Success สำหรับการทำธุรกิจยุคนี้ ขึ้นอยู่ที่ว่า ใครจะรับมือ และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่ากันนั้นเอง
Youtube : โมเมพาเพลิน
CR : KBank
"ต่อ บุญ พ่วงมหา" President,New Media, Nation Group, ผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจบันฑิตสาขาการตลาด Business and Marketing Digital Age มหาวิทยาลัยเนชั่น และอดีต CEO เว็ปไซต์ Sanook.com อธิบายอย่างยาวว่า
"ในยุคนี้ Digital Media ต่างๆเข้ามามีบทบาท และมีอิทธิพลในการทำตลาดสูง เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป พฤติกรรมการเสพสื่อจึงเปลี่ยนตามไปด้วย ในอดีตหากเราอยากจะหาข้อมูลข่าวสาร ก็ไปที่หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ แต่พอมีอินเตอร์เน็ตเข้ามา ผู้บริโภคก็เริ่มมีรูปแบบการเสพสื่อเปลี่ยนไป และทางเว็ปไซต์เองก็มีวิวัฒนาการอยู่ตลอด
อย่างในสมัยก่อนผู้ทำ เว็ปไซต์จะเป็นคนกำหนดข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ โดยมี Editor หรือบรรณาธิการ เป็นคนให้ข้อมูลแก่คนอ่าน ต่อมาคนอ่านเริ่มบอกว่า ฉันไม่ได้อยากอ่าน แต่ฉันอยากจะแสดงความคิดเห็น ก็เลยเกิดเป็นเว็บไซต์พันทิป หรือเว็บบอร์ดต่างๆ เพื่อให้คนอ่านได้เข้าโพสต์ข้อมูล แสดงความคิดเห็นได้
แต่ในการโพสต์ เรื่องราวเหล่านั้น บางครั้งก็ไม่ได้มีการจัดระเบียบที่เหมาะสม ต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นรูปแบบของ blogging หรือที่คนไทยเรียกกันว่าบล็อกขึ้นมา เพื่อให้มีวิธีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบ บล็อกกิ้งมันก็เป็นพับลิชชิ่งแบบหนึ่งที่เราสามารถเสนอข้อมูลอะไรก็ได้ตาม ลำดับเหตุการณ์ แล้วคนก็เข้ามาคอมเม้นท์ได้ เลยเกิดเป็นช่องทางในการทำตลาดขึ้น เพราะไม่ว่าใครก็สามารถสร้างคอนเทนท์ขึ้นมาเองได้พาวเวอร์ของสื่อเลยวกกลับ ไปที่ยูสเซอร์มากกว่าคนที่ให้บริการ
บล็อกกิ้งมันก็คล้ายกับ การทำเว็บไซต์ขึ้นมาเว็บหนึ่ง สามารถรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่จัดรูปแบบต่อเนื่องได้ คนที่เป็น SMEs เขามีช่องทางในการเขียนคอนเทนท์ขึ้นมาเอง กลายเป็นว่าตอนนี้ใครที่เขียนคอนเทนท์ได้ดี และนำเสนอได้ดี ก็จะมีพาวเวอร์เยอะ พฤติกรรมแบบนี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าการตลาดกำลังถูกเปลี่ยนรูป เพราะการเข้าถึงคอนเทนท์ไม่ได้ถูกกำหนดโดยใครบางคนแล้ว ใครๆก็เขียนคอนเทนท์ขึ้นมาได้
แล้วพอบล็อกกิ้งมันแพร่หลาย ธุรกิจ SMEs ก็เริ่มเห็นช่องทาง ในอดีตหากอยากจะทำโฆษณาสินค้า ก็ต้องซื้อโฆษณาในหนังสือต่างๆ ค่าใช้จ่ายสูง หากรายได้ไม่เยอะก็ไม่คุ้มค่าที่จะทำ แต่พอมีบล็อกกิ้งเข้ามา เขาสามารถเข้าไปเขียนคอนเทนท์ หากคอนเทนท์ที่เขียนมันดี คนที่สนใจก็จะเข้ามาติดตามข้อมูลข่าวสารโดยที่เขาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อันนี้คือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ เริ่มมีการนำเครื่องมือต่างๆเหล่านี้เข้ามาใช้
และจากยุคของบล็อกกิ้งก็เริ่มวิ่งไปที่โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook,Twitter ซึ่งรูปแบบมันก็คล้ายกัน เทคโนโลยีมันเอื้อให้คนสามารถนำข้อมูลข่าวสารเข้าไปได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น สมัยนี้เห็นอะไรสวยก็ถ่ายภาพแล้วแชร์ผ่านมือถือได้เลย เดี๋ยวก็มีคนมาคอมเม้นท์ เสร็จแล้วก็เอาไปแชร์ต่อให้เพื่อนได้ดู ก็ยิ่งทำให้เครื่องมือมันทรงพลังขึ้น
ผมว่ามันเป็น Media of choice ผู้ที่จะเสพสื่อ หรือผู้ที่อยากได้คอนเทนท์เขามีทางเลือกมากขึ้น พฤติกรรมมันเปลี่ยนไปแล้ว เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา ต่อไปก็ไม่ต้องรออ่านหนังสือพิมพ์ หรือรอดูทีวี และไม่จำเป็นต้องเข้าเว็บไซต์ Sanook หรือ Yahoo เพื่อจะหาข้อมูล ไปที่ Facebook, Twitter ก็ได้ข้อมูลเหมือนกันและที่สำคัญไม่จำเป็นต้องไปที่คอมพิวเตอร์ PC แค่มีสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตก็ได้"
เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เปลี่ยนไปจึงเป็นที่มาของหลักสูตร Digital Marketing ที่ถูกบรรจุในการเรียนการสอน เพื่อรองรับทิศทางการทำตลาดที่ถูกเปลี่ยนรูปไปจากในอดีตในหลายๆมหาวิทยาลัย
เมื่อถามถึงบล็อกเกอร์ที่เจ้าของสินค้าต่างๆนิยมจ้างให้รีวิวสินค้าของตัวเอง ต่อบุญ อธิบายว่า
"คำถามที่ว่า ทำไมเจ้าของแบรด์ถึงเลือกใช้บริการบล็อกเกอร์ นั่นเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคมันเปลี่ยน โดยเฉพาะ Netizen เด็กๆเดี๋ยวนี้เขาไม่ได้บริโภคหนังสือพิมพ์ หนังสือการ์ตูน หรือนั่งดูการ์ตูนทางทีวี ถามว่าเขาบริโภคสื่อน้อยลงหรือเปล่า เขาบริโภคสือมากขึ้น แต่แทนที่เขาจะดูทีวีก็ไปเข้า Youtube แทนที่จะอ่านหนังสือการ์ตูน ก็เข้าไปที่ Facebook แทนที่จะเปิด PC เขาก็ไปที่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต
คำถามต่อมา คือ ถ้าเราเป็นนักการตลาด หรือเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ เราจะทำอย่างไร
วิธี การแบบเดิมที่เคยเรียนมา ต้องใช้ PC ต้องวางแผนการตลาด ใช้งบประมาณ 10 - 20 ล้าน เพื่อทำโฆษณา ทำอาร์ตเวิร์คแพงๆในยุคนี้มันไม่ทางแจ้งเกิดได้ เพราะเด็กรุ่นใหม่เขาไม่ได้เสพสื่อแบบเก่า
ในเมื่อโลกมันเปลี่ยน สื่อมันเปลี่ยนมันถูกพัฒนา ถูกวิวัฒนาการ การตลาดก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนวิธีการนำเสนอให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่
ทำไม อาชีพบิวตี้บล็อกเกอร์ถึงแจ้งเกิด ทำไม SMEs ถึงนำเรื่องนี้มาใช้ ง่ายมากครับ ก็เพราะว่าเขาต้องขายของ เขาต้องทำการตลาด วัตถุประสงค์ทางการตลาดมันไม่ได้เปลี่ยน
1. ต้องการขายของ
2. ต้องการสร้างแบรนด์
3. ต้องการให้ลูกค้าเข้าไปซื้อของที่ศูนย์
4. ต้องการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความต้องการเหมือนเดิม วิธีต่างหากที่เปลี่ยน
และการนำบล็อกมาใช้ มันตอบโจทย์เขาได้
1. ประหยัดต้นทุนในการตลาด
2. ให้ข้อมูลที่เป็นเรียลไทม์ อย่างการนำเสนอวิธีการแต่งหน้าในบล็อก ถ้าคนดูชอบ เขาก็เข้ามาไลค์ หรือเข้ามาคอมเม้นท์เลยว่า ใช่ ไม่ใช่ ชอบไม่ชอบ บางคนก็เข้ามาให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่างๆ เช่น อยากให้โปรดักส์ A มีสีชมพู เท่ากับว่าเจ้าของแบรนด์ได้ Product Development เลย
เรื่องของบล็อกเกอร์ บางครั้งมันก็เป็นการสร้างกระแส ต้องยอมรับว่าเจ้าของแบรนด์เอง ก็ต้องมีการคอนโทรลเพื่อให้ทิศทางมันออกมาตรงกับสิ่งที่ต้องการ แต่ถ้าทำมากเกินไป จนรู้สึกว่ามันไม่จริง ก็จะกลายเป็นผลลบกับตัวแบรนด์มากกว่าผลดี
เพราะสุดท้ายแล้วแวลู หรือคุณค่ามันอยู่ที่ตัวสินค้า ต่อให้มีคนมารีวิว มาพูดให้ว่าสินค้าดีอย่างไร แต่พอลูกค้าซื้อไปใช้แล้วไม่ได้ผลอย่างที่บอก การใช้บล็อกเกอร์ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก เป้าหมายที่แท้จริงยังคงอยู่ที่คุณภาพของสินค้า ว่าเราสามารถให้คุณค่ากับผู้บริโภคตามที่บอกได้หรือเปล่าถ้าสินค้ามนัมีคุณ ภาพในตัว อย่างไรก็ขายได้
แต่เรากำลังพูดถึงการนำเสนอสินค้าผู้ บริโภคยุคนี้ไม่ชอบการฮาร์ดเซลล์เหมือนในอดีต เช่น ใช้แล้วสวยเหมือนดารา หรือใช้แล้วขาวภายใน 7 วัน สำหรับคนรุ่นผมมันใช้ได้ เพราะวัฒนธรรมสอนผมว่า ถ้าอยากได้สินค้าที่ดีต้องไปดูโฆษณา
และด้วย วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้บล็อกเกอร์มีอิทธิพลในการทำตลาดยุคใหม่ ค่อนข้างมาก เพราะคนเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้นำทางความคิด หรือ Influence ที่มีผู้ติดตาม ยิ่งบล็อกเกอร์มีผู้ติดตามมาก ความน่าเชื่อถือก็ยิ่งมีมากขึ้น
การใช้บล็อกเกอร์มาพูด ข้อดีก็คือมันเป็นบุคคลที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของแบรนด์ ในยุคของการทำโฆษณาที่เยอะ ผู้บริโภคจะรู้สึกว่ามันหลอก เพราะข้อมูลมันโอเวอร์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ไหนจะมาบอกว่าสินค้าตัวเองไม่ดี แล้วดีแบบดีเลิศ ในอดีตโฆษณามันไม่ได้เยอะ คนก็เชื่อได้ง่าย สมัยนี้สินค้าก็เยอะโฆษณาก็เยอะ คนก็เริ่มรู้สึกว่ามันจะเป็นไปได้เหรอ อะไรมันจะดีขนาดนั้น
ผู้บริโภคก็เลยเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่เวลาที่เขาจะ เชื่ออะไรบางอย่าง เขาไม่ได้เชื่อในสิ่งที่ผู้ขาย หรือเจ้าของสินค้าเป็นคนบอก แต่เขาจะเชื่อบุคคลที่ 3 ที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับตัวแบรนด์ ยิ่งถ้าคนที่ Influence มากๆแล้วเอามาบอกต่อโอกาสที่คนจะเชื่อก็ยิ่งสูง สินค้าบางตัวนี่ยอดขายกระฉูดเลย
เจ้าของสินค้าที่จะเลือกใช้บล็อกเกอร์ ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ ต้องไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าคุณจ้างใครมาพูด จ้างใครมารีวิว แต่โดยหลักการแล้ว คนที่เป็นบล็อกเกอร์เขาก็มีจิตวิญญาณของเขา จ้างให้พูดถึงในทางที่ดีอย่างเดียวเขาไม่ทำนะ ถ้าเป็น Influence ที่มีอิทธิพลเยอะๆเงินไม่สามารถซื้อเขาได้ทั้งหมด จ้างให้เขารีวิวสินค้าให้ได้ แต่เขาก็จะเขียนในสิ่งที่เป็นความจริง
ตรงนั้นเจ้าของสินค้าไปคอนโทรลทั้งหมดไม่ได้ ทำได้แค่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการที่เขาจะนำไปใช้ในการเขียน หรือการรีวิวได้ ถ้าไปควบคุมเขาให้เขียนตามที่ต้องการ มันเป็นไปไม่ได้และจะกลายเป็นผลลบทันที เพราะพวกนี้มีผู้ติดตามที่เยอะมาก บางคนเป็นแสนราย ถ้าเขาบอกสินค้าคุณแย่มาก แล้วคนเป็นแสนเชื่อนี่จบเลย
ปัจจุบัน นี้เวลามีการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เจ้าของสินค้าใช้พีอาร์ทั้งนั้น และพีอาร์ที่แรงที่สุด ก็คือ บล็อกเกอร์ โดยการเชิญมางานเปิดตัว หรือส่งสินค้าให้ไปลองใช้ แล้วช่วยเขียนรีวิวถึงสินค้าให้หน่อย ผลที่ออกมาดีกว่าใช้สปอตโฆษณา 300 ล้านอีก เพราะทันทีที่บล็อกเกอร์พูดถึงสินค้าเราหรือนำไปรีวิว ลูกค้าจะชอบหรือไม่ชอบเรารู้ฟีดแบ็กเลยทันที ที่ร้ายกาจที่สุดของการทำตลาด คือ การที่ลูกค้าไม่ชอบสินค้า แล้วไม่ยอมบอกเรา กลับไปบอกคนอื่น อย่างนี้เสียหายเยอะมาก
บล็อกเกอร์ก็เลยได้รับความยนิยม และไม่ใช่แค่ใน SMEs ในรายใหญ่ๆก็เริ่มให้ความสนใจ สินค้าบางตัวเวลาทำ Development จากที่เมื่อก่อนต้องทำรีเสิร์ซ ทำโฟกัสกรุ๊ปว่าลูกค้าต้องการอะไร เดี๋ยวนี้เขาไปคุย ไปหาข้อมูลกันในเว็บไซต์ มีถึงขนาดให้บล็อกเกอร์เป็นคนดีไซน์ผลิตภัณฑ์ขึ้นมา หรือจัดแข่งขันดีไซน์สินค้าระหว่างบล็อกเกอร์ขึ้นมา จากนั้นเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็เอาไอเดียนั้นมาพัฒนาสินค้าต่อไป แล้วของมันก็ขายได้จริง เพราะตรงกับความต้องการที่ลูกค้าอยากได้จริงๆ"
นอกจากบล็อกเกอร์แล้วก็ยังมีรูปแบบการทำตลาดแนวใหม่อย่างอื่น ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมในอนาคต เช่น Affiliate Marketing "เว็บไซต์ ที่ประสบความสำเร็จมากจากการทำตลาดแบบ Affiliate Marketing คือ Amazon.com ซึ่งคอนเซ็ปต์ของมันจริงๆ ก็คือ Amazon มีสินค้าอยู่ แต่อยากหลีกเลี่ยงการตลาดในสมัยเก่า อย่างการลงโฆษณาซึ่งมันแพง ทำไมต้องไปจ่ายค่าโฆษณาทั้งๆที่ยังไม่ได้เงินจากการขายสินค้า Amazon จึงนำสินค้าไปฝากวางขายอยู่ในเว็บไซต์อื่นๆ
ลูกค้าในเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านั้น ก็จะเห็นสินค้าของ Amazon เว็บไซต์เองก็จะแฮปปี้ เพราะลูกค้าก็ยังคงอยู่ในเว็บไซต์แล้วเมื่อเกิดการซื้อขายกันจริง เว็บไซต์นั้นก็ได้เปอร์เซ็นต์ไป อย่างนี้ก็ Win - Win ทั้ง 2 ฝ่าย บางเจ้าอาจจะบอกว่าแค่ลูกค้าคลิกเข้าไปดูสินค้า คุณก็ได้เงินแล้ว หรือบางเจ้าบอกต้องมีการซื้อสินค้าก่อนถึงจะได้เงิน อันนี้ก็แล้วแแต่กลยุทธ์ในการทำตลาดของแต่ละราย Amazon ใช้ระบบนี้มานาน มีระบบการจัดการที่ดีมาก เลยทำให้รูปแบบการใช้ Affiliate Marketing ของเขามีความแข็งแรง
แต่สำหรับในเมืองไทย ระบบการตลาดแบบนี้ยังใหม่มาก ที่ผ่านใาคิดว่ามีการใช้วิธีการนี้อยู่บ้าง บางครั้งก็ให้รีวิวสินค้า เมื่อมีคนซื้อสินค้าที่เรารีวิวไว้ ก็จะได้รับเปอร์เซ็นต์จากการขาย แต่โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยเชื่อวิธีการนี้ ถึงจะเป็นการรีวิว แต่ไม่ได้มาจากผู้ทรงอิทธิพล และพอมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจทำให้ความน่าเชื่อถือในการรีวิวลดลงก็ได้
ผมไม่ได้หมายความว่า ระบบนี้ไม่ดี เพราะมันก็ซัคเซสมาแล้วในระดับโลก เพียงแต่ว่า หากจะนำรูปแบบนี้มาใช้ในการทำตลาดในไทย ก็จะต้องมีความแข็งแรงของระบบธุรกิจมากพอสมควร และอาจจะต้องอาศัยเวลา เพราะยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่
นอกจากรูปแบบในการทำตลาดแนวใหม่ ที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวแล้ว สื่อต่างๆก็ต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน ผมคิดว่าในอนาคตสื่อจะไม่พูดว่า เราคือผู้ใช้บริการทีวี หรือผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต แต่จะเปลี่ยนคำพูดเป็น เราคือผู้ให้บริการคอนเทนท์และเซอร์วิส โดยที่ไม่ต้องไปคำนึงถึงแพล็ตฟอร์ม แต่ต้องผสมผสานทุกสื่อเข้าด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ Youtube, Facebook หรือบล็อกกิ้ง
คอน เทนท์ที่ต้องการนำเสนอยังเหมือนเดิม แต่ต้องเข้าถึงได้หมดทุกสื่อ เพราะนี่คือพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค Content anywhere คนสมัยนี้เป็นแบบนี้จริงๆ รอไม่ได้ อยากรู้อะไรต้องดูเลย และเมื่อฉันได้รู้ ฉันได้ดูแล้ว ฉันต้องแสดงความคิดเห็นได้ด้วย ถ้าใช่ฉันก็จะชม ถ้าไม่ใช่ ฉันก็จะว่า ถ้าใช่และดี ก็จะบอกต่อ หรือแชร์ต่อไปยังเพื่อน สื่อไหนที่ตอบสนองเขาได้ครบ เขาก็เลือกที่จะบริโภคสื่อนั้นๆ"
เมื่อพฤติกรรมเปลี่ยน ช่องทางในการสื่อสารเปลี่ยน รูปแบบในการนำเสนอสินค้าก็เปลี่ยน
Key Success สำหรับการทำธุรกิจยุคนี้ ขึ้นอยู่ที่ว่า ใครจะรับมือ และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่ากันนั้นเอง
Youtube : โมเมพาเพลิน
CR : KBank
Post a Comment