Generation Alpha ผู้นำรุ่นใหม่ในยุค New Normal
รับมือเด็กเจนอัลฟ่า ด้วยพลังบวก ในโลกที่เทคโนโลยีก้าวเข้ามามีอิทธิพลต่อมวลมนุษยชาติ เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมนี้ คนยุคนี้เรียกพวกเขาว่า “อัลฟ่า เจน” (Alpha Generation) และในอนาคตพวกเขาคือกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าพวกเขาคือผู้กุมอำนาจอนาคตก็ว่าได้
Gen Alpha กำลังเติบโตมากับระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing economy) ซึ่งถือว่าเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังสร้างธุรกิจมูลค่าใหม่อันมหาศาลให้กับเศรษฐกิจโลก
Gen Alpha เป็นเจนเนอร์เรชั่นที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีสูง สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้เทคโนโลยีได้ว่องไว ปรับการใช้งานได้รวดเร็ว
Gen Alpha รักอิสระ ไม่ชอบการผูกมัด สนใจเทคโนโลยี และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
Gen Alpha เป็นคนอดทนต่ำ สมาธิสั้น อยู่กับสิ่งที่ต้องใช้เวลานานๆ ได้ยาก ขาดความรับผิดชอบในการทำงานได้ง่าย
Gen Alpha ชอบอยู่กับตนเอง ขาดปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคม มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมและมนุษยสัมพันธ์
Gen Alpha กำลังเติบโตมากับระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing economy) ซึ่งถือว่าเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังสร้างธุรกิจมูลค่าใหม่อันมหาศาลให้กับเศรษฐกิจโลก
Gen Alpha เป็นเจนเนอร์เรชั่นที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีสูง สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้เทคโนโลยีได้ว่องไว ปรับการใช้งานได้รวดเร็ว
Gen Alpha รักอิสระ ไม่ชอบการผูกมัด สนใจเทคโนโลยี และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
Gen Alpha เป็นคนอดทนต่ำ สมาธิสั้น อยู่กับสิ่งที่ต้องใช้เวลานานๆ ได้ยาก ขาดความรับผิดชอบในการทำงานได้ง่าย
Gen Alpha ชอบอยู่กับตนเอง ขาดปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคม มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมและมนุษยสัมพันธ์
นิเวศน์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก Generation Alpha
Alpha เป็นคำที่ใช้เรียกขานเด็กซึ่งเกิดในช่วงปี ค.ศ. 2010 จนถึง 2025 โดยเป็นกลุ่มเด็กรุ่นล่าสุดของโลกที่เกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยซึ่งถูก Disruption ด้วยดิจิทัลและเทคโนโลยี การใช้ชีวิตของเด็กในยุคสมัยนี้ จึงเป็นไปได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว ด้วยอุปกรณ์ไอทีและแพลตฟอร์มที่รองรับไลฟ์สไตล์ในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป การเรียนรู้และวิธีที่ใช้ในการเรียนรู้ก็ย่อมเปลี่ยนตาม ทำอย่างไรให้เด็ก Generation Alpha เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความรวดเร็วของกระแสต่าง ๆ และการถาโถมของข้อมูลข่าวสารเช่นนี้
More Screen เด็กในยุคนี้ดูเนื้อหา VDO ผ่านทางหน้าจอมากกว่าการเขียนและอ่านตัวอักษร พฤติกรรมการใช้งานหน้าจอ Screen ทั้งจากสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไปจนถึงคอมพิวเตอร์จึงส่งผลให้ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ผ่านทางหน้าจอให้มากขึ้น ไปจนถึงการเรียนรู้ผ่านหน้าจอแบบ 100% โดยหนังสือ สมุด และข้อมูลที่อยู่บนกระดาษจะได้รับความสนใจที่น้อยลง ดังนั้น บทเรียนบนอินเทอร์เน็ต แอปพลิเคชันที่ใช้ในการเรียนการสอน จะมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาพร้อมกับความสะดวกสบายและการใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มทักษะการใช้งานเทคโนโลยี และการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารที่เปิดกว้างอยู่บนโลกออนไลน์ให้กับเด็ก ๆ ด้วย ยุคนี้ จึงเป็นยุคที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องยื่นสมาร์ทโฟนให้ลูกใช้ในการเรียนรู้แทนการบังคับให้หยุดเล่น แต่ก็ต้องคอยสอดส่องควบคุมเนื้อหาที่จะแสดงบนหน้าจอให้เหมาะสมด้วย
More Experience นอกจากจะต้องแข่งขันกับคนวัยเดียวกันแล้ว Generation Alpha ยังต้องแข่งขันกับ AI ที่กำลังรุกคืบช่วงชิงอาชีพของแรงงานในปัจจุบันอีกด้วย การเป็น “นัก” อะไรสักอย่างจึงใกล้จะเลือนหายไป เหลือไว้เพียงความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งซึ่งมาพร้อมทักษะอื่น ๆ แบบ Multi Skill หนทางรอดของเด็กยุคนี้ที่ต้องสู้กับความเฉลียวฉลาดของปัญญาประดิษฐ์ จึงเป็นการมีประสบการณ์กับบางสิ่งบางอย่างจนเชี่ยวชาญมากพอที่ AI จะไม่สามารถทดแทนได้ มองในอีกด้าน ประสบการณ์จะช่วยให้เด็กยุคนี้ตัดสินใจแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และคงเป็นเรื่องที่ดี หากเด็ก 1 คนที่กำลังสนใจเรื่องโครงสร้างตึก จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างตึกอย่างถ่องแท้ ได้สัมผัสกับงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงมือปฏิบัติหรือคลุกคลีอยู่ในสิ่งแวดล้อมของงาน เพื่อที่จะได้รู้ตัวว่าเขาจะเติบโตขึ้นไปเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างตึกหรือไม่ กล่าวได้ว่าสำหรับยุคนี้ ห้องเรียนบทเรียน และข้อสอบ จะมีความสำคัญรองลงมาจากการลงมือปฏิบัติ ห้องแล็บ เวิร์คช็อป หรือศูนย์การเรียนรู้ที่เน้นสร้างประสบการณ์
More Knowledge เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน เครื่องไม้เครื่องมือเปลี่ยน วิถีชีวิตเปลี่ยน องค์ความรู้เดิมที่มีอยู่จึงอาจไม่เพียงพอต่อ Generation Alpha ในการดำรงชีวิต ดังจะเห็นได้จากการตื่นตัวของกระทรวงศึกษาธิการที่บรรจุวิชาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนของเด็กประถม แต่เท่านี้จะเพียงพอหรือไม่สำหรับการเตรียมตัวให้เด็ก ๆ มีความพร้อมที่จะออกไปเผชิญกับโลกที่มนุษย์นั้นไปได้ไกลกว่ากาแล็กซี่ทางช้างเผือก และบุคลากรผู้สอนที่มีอยู่จะเพียงพอหรือไม่สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ทันต่อยุคสมัย ไปจนถึงการตั้งคำถามสำคัญที่ว่า Generation X, Y และ Z จะสามารถเป็นครู อาจารย์ ให้กับ Generation Alpha ได้หรือไม่ คำตอบที่เป็นตรงกลางของคำถามนี้คือองค์ความรู้เดิมและบุคลากรเหล่านี้ยังจำเป็นและมีความสำคัญต่อการสอนศาสตร์พื้นฐานต่าง ๆ ทั้งการอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ และแยกแยะ แต่ทว่าไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้เด็กรุ่นใหม่มีศักยภาพสูงสุดสอดคล้องกับยุคสมัย การเอื้อและเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ศาสตร์ใหม่ ๆ ทักษะใหม่ ๆ หรือกระทั่งช่วงเวลาว่างที่เด็ก ๆ สามารถนั่งใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการ จึงเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยสนับสนุนให้ Alpha เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
ขณะเดียวกัน แนวคิดเรื่องสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ อันได้แก่ พื้นที่การเรียนรู้, คอนเทนต์, กิจกรรมส่งเสริม, ความหลากหลาย, ความคิดสร้างสรรค์ และเสรีภาพในการแสดงออก ยังเป็นสิ่งที่ควรมีอยู่เหมือนเดิมเนื่องจากเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องมี
Post a Comment