หัวหน้าแบบไหน ถูกใจคนแต่ละรุ่น
เมื่อหลายวันก่อนได้รับอีเมล์ฉบับหนึ่งจากแฟนคอลัมน์ เขียนมาปรึกษาเรื่องความแตกต่างระหว่างวัยในองค์กร (Generation Gap) อันที่จริงเรื่องนี้จะว่าเก่าก็เก่า จะว่าใหม่ก็ใหม่
หลายองค์กรพูดเรื่องนี้ไปนานแล้ว แต่บางองค์กรเพิ่งจะประสบปัญหาหนัก ๆ เรื่องช่องว่างระหว่างวัยในระยะปีสองปีที่ผ่านมานี่เอง
เผอิญเมื่อวันก่อนมีโอกาสอ่านงานวิจัยฉบับหนึ่งของ Center for Creative Leadership (CCL) สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำที่มีชื่อเสียงระดับโลก เนื้อหาน่าสนใจ ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอดี เลยหยิบมาเล่าให้ฟัง
งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดย เจนนิเฟอร์ ดีล (Jennifer J. Deal) ซึ่งสำรวจความคิดเห็นของคนทำงานเกือบ 6,000 คนจาก 3 รุ่น (Generation) ในสหรัฐอเมริกา
1. ภาวะผู้นำแบบให้ความสำคัญกับลำดับชั้นการบังคับบัญชา และเน้นการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่เคยทำมา (Hierarchical Leadership)
2. ภาวะผู้นำแบบพึ่งพาตนเอง เน้นการทำงานตามหน้าที่ของตน โดยมีความอิสระในการคิดและตัดสินใจ (Autonomous Leadership)
3. ภาวะผู้นำแบบให้ความช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเอื้ออาทรและมีเมตตา (Humane Leadership)
4. ภาวะผู้นำแบบเน้นการทำงานด้วยความร่วมไม้ร่วมมือและการมีส่วนร่วม (Participative Leadership)
5. ภาวะผู้นำที่เน้นความสามัคคีในการทำงาน ช่วยเหลือทีมงานให้พยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (Team-oriented Leadership)
6. ภาวะผู้นำที่เน้นการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน มีความสามารถในการโน้มน้าว และสร้างพลังให้เกิดความฮึกเหิม มีความกระตือรือร้นและมุ่งมั่น (Charismatic Leadership)
อยากลองเดาดูไหมครับว่าภาวะผู้นำแบบไหนจะถูกใจคนแต่ละรุ่น ?
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 รุ่น
Baby Boom-พ.ศ. 2489-2507
Generation X-พ.ศ. 2508-2522
Generation Y-พ.ศ. 2523-2543
มองเหมือนกันหมด โดยไม่มีความแตกต่างเลยว่า...
ภาวะผู้นำแบบ Participative, Humane และ Team-oriented เป็นภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในขณะที่ภาวะผู้นำแบบ Hierarchical และ Autonomous เป็นแบบที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม...
สิ่งที่น่าสนใจคือความเห็นที่แตกต่างกันของคนต่างวัยสำหรับภาวะผู้นำแบบ Charismatic
โดยคนอายุมากมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับผู้นำแบบนี้มากกว่าคนรุ่นใหม่ ๆ
"เจนนิเฟอร์ ดีล" ผู้ทำการวิจัยอธิบายว่า...
มีความเป็นไปได้สูงที่ความแตกต่างนี้เกิดจากอิทธิพลของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
เพราะคนรุ่นเก่ามี "คน" เป็นที่ปรึกษาและให้กำลังใจ ขณะที่ "คนรุ่นใหม่" ใช้ "อินเทอร์เน็ต" เป็นที่พึ่งเมื่อมีปัญหา
นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่าความเชื่อเดิม ๆ ที่มองว่าคนรุ่นใหม่มีความมั่นใจในตัวเองสูง
และมีแนวโน้มจะท้าทายคนรุ่นเก่าในเรื่องต่าง ๆ ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป
เพราะผลการสำรวจพบว่าคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มคล้อยตามหัวหน้า โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาคิดว่าหัวหน้า "เก่ง"
ในขณะที่คนรุ่นเก่าต้องการให้หัวหน้าออกคำสั่ง หรือชี้แนะแนวทางในการทำงานน้อยลง และมีแนวโน้มต่อต้านหัวหน้ามากกว่าเด็กรุ่นใหม่ เพียงแต่ลักษณะการต่อต้านอาจใช้วิธีดื้อเงียบ (Passive Aggressive) แทนการเผชิญหน้า
งานวิจัยนี้มีข้อแนะนำเพิ่มเติมด้วยว่า หากต้องการพัฒนาผู้นำให้มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับบุคลากรทุกรุ่น จงทำ 4 อย่างนี้คือ
1. เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นก่อนการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ แม้การรับฟังอาจไม่ได้หมายถึงการต้องทำตามเสมอไป
แต่หากเป็นไปได้ การนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะของทีมมาปฏิบัติบ้างในบางเรื่อง จะช่วยเสริมสร้างความสำเร็จให้เกิดง่ายขึ้น
2. เผื่อเวลาสำหรับการสื่อสาร อย่าทำให้เห็นว่าทุกอย่างเร่งรีบจนเกินไป
จริงอยู่ในการทำงาน ความกระชับและตรงประเด็นเป็นสิ่งจำเป็น แต่การเปิดโอกาสให้ทีมงานพูดคุยกันถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้น รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมทั้งหาโอกาสที่จะเฉลิมฉลองความสำเร็จเล็ก ๆ ร่วมกันบ้างเป็นครั้งคราว จะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีในการผลักดันให้ทีมเดินหน้าต่อไปได้เต็มประสิทธิภาพ
3. ให้ความช่วยเหลือเกินกว่าแค่เรื่องงาน
มองหาโอกาสที่จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ลูกทีมสามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตของเขาได้
แสดงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจในความยากลำบากบางอย่างที่พวกเขาประสบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว ไม่มองทุกอย่างเป็นเรื่อง "ง่าย ๆ" หรือ "เล็กน้อย" เพราะคนเรามีมุมมองต่อปัญหาต่างกัน
4. ทำงานด้วยความกระตือรือร้น มุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่
เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นคล้ายโรคติดต่อ หากหัวหน้าดูเฉื่อย ๆ เนือย ๆ รับรองว่าลูกน้องก็จะมีลักษณะไม่ต่างกัน ในทางตรงกันข้าม หากหัวหน้าเป็นคนแอ็กทีฟ ลูกน้องก็จะมีพลัง
5. การมองโลกในแง่ดี มองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสมากกว่าปัญหา ไม่พูดคำว่า "ไม่" บ่อยเกินไป จะช่วยเพิ่มพลังให้กับทีมได้อย่างไม่น่าเชื่อ
จริงอยู่ครับ แม้ผลงานวิจัยชิ้นนี้จะทำกับคนในสหรัฐอเมริกา
หลายองค์กรพูดเรื่องนี้ไปนานแล้ว แต่บางองค์กรเพิ่งจะประสบปัญหาหนัก ๆ เรื่องช่องว่างระหว่างวัยในระยะปีสองปีที่ผ่านมานี่เอง
เผอิญเมื่อวันก่อนมีโอกาสอ่านงานวิจัยฉบับหนึ่งของ Center for Creative Leadership (CCL) สถาบันพัฒนาภาวะผู้นำที่มีชื่อเสียงระดับโลก เนื้อหาน่าสนใจ ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอดี เลยหยิบมาเล่าให้ฟัง
งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดย เจนนิเฟอร์ ดีล (Jennifer J. Deal) ซึ่งสำรวจความคิดเห็นของคนทำงานเกือบ 6,000 คนจาก 3 รุ่น (Generation) ในสหรัฐอเมริกา
โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ลักษณะภาวะผู้นำต่อไปนี้ แบบใดมีประสิทธิภาพมากที่สุดในความเห็นของพวกเขา
1. ภาวะผู้นำแบบให้ความสำคัญกับลำดับชั้นการบังคับบัญชา และเน้นการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่เคยทำมา (Hierarchical Leadership)
2. ภาวะผู้นำแบบพึ่งพาตนเอง เน้นการทำงานตามหน้าที่ของตน โดยมีความอิสระในการคิดและตัดสินใจ (Autonomous Leadership)
3. ภาวะผู้นำแบบให้ความช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเอื้ออาทรและมีเมตตา (Humane Leadership)
4. ภาวะผู้นำแบบเน้นการทำงานด้วยความร่วมไม้ร่วมมือและการมีส่วนร่วม (Participative Leadership)
5. ภาวะผู้นำที่เน้นความสามัคคีในการทำงาน ช่วยเหลือทีมงานให้พยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (Team-oriented Leadership)
6. ภาวะผู้นำที่เน้นการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน มีความสามารถในการโน้มน้าว และสร้างพลังให้เกิดความฮึกเหิม มีความกระตือรือร้นและมุ่งมั่น (Charismatic Leadership)
อยากลองเดาดูไหมครับว่าภาวะผู้นำแบบไหนจะถูกใจคนแต่ละรุ่น ?
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 รุ่น
Baby Boom-พ.ศ. 2489-2507
Generation X-พ.ศ. 2508-2522
Generation Y-พ.ศ. 2523-2543
มองเหมือนกันหมด โดยไม่มีความแตกต่างเลยว่า...
ภาวะผู้นำแบบ Participative, Humane และ Team-oriented เป็นภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในขณะที่ภาวะผู้นำแบบ Hierarchical และ Autonomous เป็นแบบที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม...
สิ่งที่น่าสนใจคือความเห็นที่แตกต่างกันของคนต่างวัยสำหรับภาวะผู้นำแบบ Charismatic
โดยคนอายุมากมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับผู้นำแบบนี้มากกว่าคนรุ่นใหม่ ๆ
"เจนนิเฟอร์ ดีล" ผู้ทำการวิจัยอธิบายว่า...
มีความเป็นไปได้สูงที่ความแตกต่างนี้เกิดจากอิทธิพลของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
เพราะคนรุ่นเก่ามี "คน" เป็นที่ปรึกษาและให้กำลังใจ ขณะที่ "คนรุ่นใหม่" ใช้ "อินเทอร์เน็ต" เป็นที่พึ่งเมื่อมีปัญหา
นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่าความเชื่อเดิม ๆ ที่มองว่าคนรุ่นใหม่มีความมั่นใจในตัวเองสูง
และมีแนวโน้มจะท้าทายคนรุ่นเก่าในเรื่องต่าง ๆ ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป
เพราะผลการสำรวจพบว่าคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มคล้อยตามหัวหน้า โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาคิดว่าหัวหน้า "เก่ง"
ในขณะที่คนรุ่นเก่าต้องการให้หัวหน้าออกคำสั่ง หรือชี้แนะแนวทางในการทำงานน้อยลง และมีแนวโน้มต่อต้านหัวหน้ามากกว่าเด็กรุ่นใหม่ เพียงแต่ลักษณะการต่อต้านอาจใช้วิธีดื้อเงียบ (Passive Aggressive) แทนการเผชิญหน้า
งานวิจัยนี้มีข้อแนะนำเพิ่มเติมด้วยว่า หากต้องการพัฒนาผู้นำให้มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับบุคลากรทุกรุ่น จงทำ 4 อย่างนี้คือ
1. เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นก่อนการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ แม้การรับฟังอาจไม่ได้หมายถึงการต้องทำตามเสมอไป
แต่หากเป็นไปได้ การนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะของทีมมาปฏิบัติบ้างในบางเรื่อง จะช่วยเสริมสร้างความสำเร็จให้เกิดง่ายขึ้น
2. เผื่อเวลาสำหรับการสื่อสาร อย่าทำให้เห็นว่าทุกอย่างเร่งรีบจนเกินไป
จริงอยู่ในการทำงาน ความกระชับและตรงประเด็นเป็นสิ่งจำเป็น แต่การเปิดโอกาสให้ทีมงานพูดคุยกันถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้น รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมทั้งหาโอกาสที่จะเฉลิมฉลองความสำเร็จเล็ก ๆ ร่วมกันบ้างเป็นครั้งคราว จะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีในการผลักดันให้ทีมเดินหน้าต่อไปได้เต็มประสิทธิภาพ
3. ให้ความช่วยเหลือเกินกว่าแค่เรื่องงาน
มองหาโอกาสที่จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ลูกทีมสามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตของเขาได้
แสดงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจในความยากลำบากบางอย่างที่พวกเขาประสบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว ไม่มองทุกอย่างเป็นเรื่อง "ง่าย ๆ" หรือ "เล็กน้อย" เพราะคนเรามีมุมมองต่อปัญหาต่างกัน
4. ทำงานด้วยความกระตือรือร้น มุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่
เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นคล้ายโรคติดต่อ หากหัวหน้าดูเฉื่อย ๆ เนือย ๆ รับรองว่าลูกน้องก็จะมีลักษณะไม่ต่างกัน ในทางตรงกันข้าม หากหัวหน้าเป็นคนแอ็กทีฟ ลูกน้องก็จะมีพลัง
5. การมองโลกในแง่ดี มองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสมากกว่าปัญหา ไม่พูดคำว่า "ไม่" บ่อยเกินไป จะช่วยเพิ่มพลังให้กับทีมได้อย่างไม่น่าเชื่อ
จริงอยู่ครับ แม้ผลงานวิจัยชิ้นนี้จะทำกับคนในสหรัฐอเมริกา
โดย อ.อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา
Post a Comment