ไทย-ญี่ปุ่น จับมือ ลงทุนนิคมอุบลฯ หวังสร้างฮับเศรษฐกิจในภูมิภาค
หวังสร้างฮับเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น นิคมฯเกษตรกรรมขั้นสูงอุบลราชธานี
และได้ความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่ร่วมลงนาม MOU ตามแผนก่อสร้างในปีหน้า และได้รับไฟเขียวจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) รวมถึงการตอบรับจาก BOI ที่จะช่วยหนุนเสริมนักลงทุนจากญี่ปุ่นที่พร้อมมาตั้งฐานการผลิตที่นิคมอุตสาหกรรม ความคืบหน้าล่าสุด ตัวแทนกลุ่มทุนและที่ปรึกษาด้านการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น นายยาตาไก โยชินาริ นายไดสุเกะ ซาโต้ และ นายโตชิยูกิ อาเบะ ได้เดินทางลงพื้นที่โครงการก่อสร้างนิคม โดยมี นายณัฐวัฒน์ และ นนทวัชร์ เลิศสุรวิทย์ ในนามอุบลราชธานี อินดัสตรี้ ผู้ดำเนินโครงการพาไปเยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างนิคมอุบลฯ ที่ อ.เดชอุดม
ด้าน นายยาตาไก ตัวแทนกลุ่มทุนญี่ปุ่นเผยว่า “ก่อนหน้านี้ได้มาลงพื้นที่ จ.อุบลฯหลายครั้งแล้ว ล่าสุดที่กลับไปประชุมกับสมาคมนักธุรกิจญี่ปุ่นซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่มีความสนใจเกี่ยวกับโครงการนี้ เพราะจุดเด่นของจังหวัดนี้มีครบทั้งเรื่องของแรงงาน วัตถุดิบ โลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของจังหวัดที่มีทั้งถนนสี่เลน มีสนามบิน และกำลังจะมีรถไฟรางคู่ และที่นักลงทุนให้ความสนใจก็คือ สิทธิประโยชน์ที่บีโอไอระบุว่าจะได้รับจากการลงทุนในนิคมแห่งนี้ และเรื่องการค้าชายแดนที่อยู่ใกล้กับลาว กัมพูชา เวียดนาม เมื่อนิคมนี้เกิดขึ้นก็จะช่วยให้คนท้องถิ่นไม่ต้องไปทำงานที่อื่นไกลๆ ส่วนที่อยากให้เน้นก็คือ การประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลฯให้คนญี่ปุ่นรู้จักมากขึ้น
โดยนายณัฐวัฒน์ กล่าวว่า โครงการได้ดำเนินมาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการปรับสีผังเมืองแล้ว คือ การประชุมของอนุกรรมการ และกรรมการชุดใหญ่ หลังจากนั้นจะติดประกาศ 30 วัน และประกาศเป็นกฎหมายออกมา ดังนั้นการปรับผังเมืองตามเกณฑ์ของ กนอ. จากสีเขียว(พื้นที่เกษตรกรรม) เป็นสีม่วง (พื้นที่อุตสาหกรรม) จึงน่าจะจบกระบวนการนี้ได้ไม่เกินสิ้นปีนี้
“นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี” จะถูกพัฒนาให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะและยั่งยืนแห่งแรกของจังหวัด ที่มุ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เศรษฐกิจชีวภาพ และเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถส่งเสริมศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ ยังช่วยลดการย้ายถิ่นแรงงาน ลดการรวมอำนาจและความเหลื่อมล้ำทางธุรกิจได้อีกด้วย
“นิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี” ตั้งอยู่บนพื้นที่ 2,300 ไร่ ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งปัจจุบันมีประชากรกว่า 1.8 ล้านคน จังหวัดอุบลราชธานีถือเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตอีสานใต้ซึ่งมีจำนวนประชากรกระจายตามจังหวัดต่าง ๆ รวม 10 กว่าล้านคน
ถือว่าเป็นการร่วมมือที่ดีเลยนะคะเพราะว่าถ้า นิคมนี้เกิดขึ้นและสำเร็จก็จะเป็นการช่วยให้คนท้องถิ่นไม่ต้องไปทำงานที่อื่นไกลๆ ไม่ต้องลำบากในการเดินทาง ส่วนที่อยากให้ช่วยกันก็คือ การประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานีให้คนญี่ปุ่นรู้จักมากขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ในสื่อโซเชียล เพราะปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โซเชียลเป็นปัจจัยห้าในการดำรงชีวิตไปแล้ว และเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่ายที่สุดและเร็วที่สุด ฉะนั้นการประชาสัมพันธ์ตรงนี้ถือว่าตอบโจทย์ที่สุด
Post a Comment